เมนู

แม้ต้องอาบัติกับภิกษุเหล่านั้น แต่ไม่มาในที่ประชุมนั้น หรือว่าภิกษุเหล่า
ใดมาแล้ว มอบฉันทะแล้วนั่งในที่ทั้งหลายมีบริเวณเป็นต้น, ภิกษุเหล่า
นั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ออกจากอาบัติเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นผู้ทำความเห็นแย้ง เว้นผู้มีได้อยู่ในที่นั้น.

อธิกรณ์ 4


สองบทว่า ภิกฺขุนีนํ อนูปขชฺช ได้แก่ แทรกแซงภายใน
หมู่นางภิกษุณี. เนื้อความเฉพาะคำแห่งอธิกรณ์ทั้งหลายมีวิวาทาธิกรณ์
เป็นต้น ได้กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งทุฏฐโทสสิกขาบท.
สองบทว่า วิปจฺจตาย โวหาโร ได้แก่ โวหารเพื่อทุกข์แก่
จิต, ความว่า คำหยาบ.
หลายบทว่า โย ตตฺถ อนุวาโท คือการโจทใด ในเมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นโจทอยู่.
บทว่า อนุวทนา นี้ เป็นคำแสดงอาการ. ความว่า กิริยา
ที่โจท.
สองบทว่า อนุลฺลปนา อนุภณนา สักว่าเป็นไวพจน์ของ
กิริยาที่โจทเท่านั้น.
บทว่า อนุสมฺปวงฺกตา มีความว่า ความเป็นผู้คล้อยตามคือ
ความเป็นผู้พลอยประสม ในการโจทนั้นนั่นแล ด้วยกายจิตและวาจา
บ่อย ๆ.
1. สมนุต. ทุติยา. 101.